ปัญหาทะเลอันดามัน
อย่ามัวรอให้ทะเลอันดามันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ถ้าวันนี้เรายังไม่มีปัญญาดูแลของๆเราเอง
ความเสื่อมโทรมของแนวปะการังในทะเลอันดามัน อย่าให้เป็นแค่ไฟไหม้ฟาง
ตอนนี้กระแสความห่วงใยแนวปะการังแถบอันดามันกลับมาคึกโครมอีกครั้งบนโลกออ นไลน์ เมื่อมีการเผยแพร่ภาพซากศพแนวปะการังแถบ หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย ฯลฯ โดยนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลหลายท่าน วันนี้ในฐานะคนรักทะเล ในฐานะครูสอนดำน้ำ(SCUBA Instructor) และในฐานะผู้ก่อตั้งและเลขานุการมูลนิธิเพื่อทะเล ซึ่งเคยออกทำงานอาสาใต้น้ำในช่วงหลังเกิดเหตุสึนามิ ผมอยากวิงวอนให้กระแสห่วงใยท้องทะเลครั้งนี้อย่าเป็นแค่ไฟไหม้ฟาง ขอให้ช่วยกันลุกขึ้นมาดูแลธรรมชาติใต้ท้องทะเลอย่างจริงจังเสียที
ต้องยอมรับว่าความเสื่อมโทรมของแนวปารังในทะเลอันดามันไทยในปัจจุบัน เป็นผลสืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่อปี 2553 ตัวผมเองเคยเขียนบทความเรียกร้องทุกภาคส่วนให้ช่วยกันหามาตรการดูแลและ ฟื้นฟูแนวปะการัง ในบทความเรื่อง “ปะการังฟอกขาว หยุดความเสียหาย-ดูแลที่ยังเหลืออยู่" (อ่านได้จาก http://goo.gl/MZsPtQ)
ขณะนั้นเป็นช่วงรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ และตอนนั้นผมเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รวบรวมข้อเสนอ ของนักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำ และผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ยื่นต่อนายกฯอภิสิทธิ์
ช่วงนั้นคนไทยก็ตื่นตัวกันพอสมควรที่จะช่วยกันหามาตรการปกป้องแนวปะการังให้ สามารถฟื้นตัวได้จากวิกฤติปะการังฟอกขาว กระทรวงทรัพยากรฯ ออกมาตรการมาหลายอย่าง เช่นปิดจุดท่องเที่ยวบางจุด เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว จากนั้นไม่นานกระแสตื่นตัวก็ค่อยๆจางหายไป ปะการังที่เสื่อมโทรมไปนอกจากไม่ได้พักฟื้นเพื่อให้ฟื้นตัวกลับถูกรบกวนจาก การบริหารจัดการที่บกพร่องจนเสื่อมโทรมมากขึ้นๆไปกว่าเดิมอีก
วันนี้มาตื่นตัวกันอีกครั้งด้วยความพยายามที่จะผลักดันให้แนวกะรังในทะเล อันดามันของไทยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หลายท่านหวังว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกจะเป็นการนำมาตรการของต่างชาติมาช่วย ควบคุมให้ภาครัฐไทยมีมาตรการดูและทะเลอันดามันให้ดีขึ้นตามระเบียบกฏเกณฑ์ ของมรดกโลก
ผมดูออกจะเป็นการหวังน้ำบ่อหน้าแบบลมๆแล้งๆมากไปหน่อย วันนี้ทะเลอันดามันเหมือนคนป่วยหนักต้องได้รับการเยียวยาด่วน หากจะรอหมอจากต่างชาติมารักษา ปะการังในทะเลอันดามันไทยคงเสื่อมโทรมเกินแก้ไข
หน่วยงานภาครัฐทั้งหลาย ตั้งแต่ระดับ กรม กอง กระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแนวปะการังและทรัพยากรชายฝั่ง ถ้าไม่มีปัญญาดูแนวปะการังของเราเอง ต้องไปอาศัยมาตรการการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูนิเซฟ มาช่วยดูแลแนวปะการัง ผมเสนอชัดๆว่าก็ประกาศยุบอุทยานแห่งชาติทางทะเลของไทยไปให้หมดเลยดีไหม ปล่อยให้ทะเลไทยอยู่ไปแบบตามเวรตามกรรม รอต่างชาติเขามาช่วยกันดูแลแทนแล้วกัน แต่ปล่อยอย่างนั้นมันเป็นไปไม่ได้ เมื่อเป็นไปไม่ได้ผมจึงขอเสนอมาตรการดังนี้
1. ตอนนี้เรามีผลสำรวจความเสื่อมโทรมของแนวปะการังในหลายจุดที่สำรวจโดยนัก วิชาการหลายภาคส่วนแล้ว เราต้องช่วยกันหามาตรการที่จริงจังในการบริหารจัดการแนวปะการังทุกจุดในเขต อันดามันไทย จุดไหนจำเป็นต้องปิดก็ปิด และต้องปิดแบบจริงจังไม่ใช่ปล่อยปะละเลย ปิดให้ปะการังได้พักผ่อนและฟื้นตัวบ้าง
2. จุดท่องเที่ยวทางทะเลทุกจุดต้องมีมาตรการการบริหารจัดการที่ชัดเจนและคุมเข้ม เช่น
- ควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัดไม่ให้เกิดจำนวนที่ธรรมชาติสามารถ รองรับได้ (Carrying Capacity) เช่น เกาะสี่ที่สิมิลัน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ไม่เกิน250คน ต่อวันก็ต้องไม่ให้เกิน ทุกวันนี้ช่วงเทศกาลไม่รู้เกินล้นทะลักไปมากมายแค่ไหน
- ปัจจุบันมีการขายบัตรให้นักท่องเที่ยวก่อนเข้าอุทยานอยู่แล้ว ก็ต้องเคร่งครัดวันหนึ่งๆต้องขายไม่เกินจำนวนที่กำหนด
- กำหนดและควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยวทุกประเภทในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล
- กำหนดและควบคุมมาตรฐานและจำนวนของเรื่อที่นำนักท่องเที่ยวเข้ามาในเขตอุทยาน ต้องมีจำนวนจำกัดในแต่ละวัน และเรือทุกลำต้องมีระบบกักเก็บของเสียไม่ใช่ใครถ่ายในห้องน้ำก็ใหลพรวดลง ทะเลทันที
- กำหนดมาตรการลดขนะเก็บขยะในเขตอุทยาน เช่นห้ามเอาขวดพลาสติกเข้าเขตอุทยาน, นักท่องเที่ยวทุกคนนำขยะเข้าอุทยานเท่าไร ต้องช่วยขนขยะออกจากอุทยานเท่านั้น
3. งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการ สามารถมาจากการจำหน่ายบัตรเข้าอุทยานได้ ดังนั้นต้องโปร่งใส่ว่ามีการนำรายได้จากการเข้าชมอุทยานของนักท่องเที่ยว กลับมาใช้เพื่อบริหารจัดการเรื่องการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
4. กิจกรรมบางชนิดเป็นอันตรายต่อปะการังอย่างมาก เช่น การดำน้ำตื้นแบบสนอกเกิ้ล (Snorkeling) ต้องกำหนดเขตดำน้ำแบบนี้ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งในระยะที่น้ำลึกขนาดที่นัก ท่องเที่ยวยืนไม่ถึง เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมีการเดินเหยียบย่ำปะการังให้แตกหักเสียหายมาก จึงต้องกำหนดเขตให้ชัดเจน และให้ความรู้ทำความเข้าใจกับมัคคุเทศก์อย่างเคร่งครัด ห้ามดำน้ำแบบสนอกเกิ้ลในจุดน้ำตื้นแบบยืนถึงเด็ดขาด
5. บุคคลากรของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ มีจำนวนมาก มีทั้งคนที่เชี่ยวชาญป่าเขา และคนที่เชี่ยวชาญทางทะเล ต้องแบ่งแยกให้ชัดเจน ไม่ใช่โยกย้ายคนที่เชี่ยวชาญด้านป่าเขาไปดูแลทะเล เอาคนที่เชี่ยวชาญด้านทะเลไปดูแลภูเขา
6. แผนแม่บทในการดูแลอุทยานแห่งชาติ และแผนแม่บทต่างๆมีการร่างกันเอาไว้มากมาย เอามาศึกษาและบังคับใช้อย่างเคร่งครัดและจริงจัง
ถ้าวันนั้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ปะการังฟอกขาวปี2553 เราช่วยกันดูแลแนวปะการังกันอย่างจริงจัง ปะการังในทะลอันดามันไทยคงไม่พังแหลกลานดังในวันนี้ ผมเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาจริงจัง ลงมือทำกันทันทีและต่อเนื่องอย่าให้ขาดหายไปตามกระแส วันนี้เราหากินกับธรรมชาติด้วยคำว่า”ท่องเที่ยวและสันทนาการ”มามากพอแล้ว ดูแลเขาบ้าง
""ไม่ต้องรอจนได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะกว่าจะขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้จริงคงต้องใช้เวลาอีกเป็นปีๆ ถึงวันนั้นจะมีประโยชน์อะไรที่จะเอาปะการังที่เหลือเพียงซากศพ เอาของที่ไม่เหลือค่ามาเขียนใส่พินัยกรรมยกให้เป็นมรดกของโลกสืบทอดให้ลูก หลาน""
เครดิตและขอบคุณ
ข้อมูลบางส่วน อ. ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง
ภาพจากโดรน โดย Waran RBJ Suwonno
ภาพใต้น้ำ โดย Sirachai Arunraktichai